การนำ Game based
learning มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนนั้น ไม่เพียงแต่ผู้สอนจะต้องความหมาย
แต่ยังต้องคำนึงถึงหลักการใช้ เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนเป็นไปตามเป้าหมาย
โดยผู้สอนจะต้องคำนึงถึงหลักการ ดังนี้
1.ผู้สอนต้องคำนึงถึงบริบททั้งด้านเนื้อหา
ด้านผู้เรียน ด้านสภาพแวดล้อมให้มีความสอดคล้องและเหมาะสมกัน (Dalton, 2016) ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ Gredler (1992) ที่ได้กล่าวว่า เกมควรมีการจำลองสถานการณ์ที่หลากหลาย
ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนแต่ละคน
ให้แสดงออกได้อย่างสมบทบาทและเลือกใช้ภาษาได้อย่างถูกต้องและสร้างสรรค์จากประสบการณ์ตนเองเพื่อแก้ปัญหาและหาข้อสรุปในการแสดงสถานการณ์ด้วยตัวเอง
2.
ผู้สอนต้องออกแบบเกมให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน
ผู้เรียนแต่ละคนมีความต้องการแตกต่างกันตามแนวคิดของ Faulkner D (1995) ที่กล่าวว่า การเล่นมีความสำคัญต่อพัฒนาการด้านสังคมของเด็ก
จากการศึกษาลักษณะการเล่นและปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนระหว่างการเล่นของเด็ก สามารถแสดงถึงพัฒนาการด้านสังคมของเด็กได้ โดยเฉพาะเด็กปฐมวัยและเด็กวัยกลาง (2-10 ปี)
ทั้งนี้โดยการเล่นจะมีผล ดังนี้
2.1 เด็กเล็ก
เรียนรู้สิ่งต่างๆในโลกโดยการเล่น เช่น การฝึกทักษะทางสังคม
ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และปฏิสัมพันธ์ต่อกัน
2.2
เด็กมีโอกาสได้ฝึกฝนทักษะทางสังคมเพิ่มเติมให้ชัดเจนขึ้น
จากการเรียนรู้โดยวิธีอื่นด้วยการเล่น
2.3 การเล่นมีส่วนช่วยพัฒนาด้านสังคมของเด็กควบคู่ไปกับประสบการณ์อื่นๆ
ดังนั้น
ในการเลือกเกมที่ใช้ในการสอนจึงต้องมีความสอดคล้องช่วงวัยของผู้เรียน
3.
ครูต้องมีการสร้างแรงจูงใจให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน โดย Dalton (2016) ได้อ้างถึงหลักการของสกินเนอร์ ว่า การใช้วิธีการเสริมแรงแต่ละประเภทจะมีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานที่ต่างกันขึ้นอยู่กับประเภทของการเสริมแรง
ดังนั้นในการออกแบบเกมจึงต้องคำนึงถึงการให้แรงเสริมที่เหมาะสม
นอกจากที่กล่าวมานั้น
ยังมีงานวิจัยในไทยของสกุล สุขศิริ ที่กล่าวถึง หลักการของ Game based
learning ไว้ดังนี้
1) Practice การออกแบบ Game
Based Learning นั้นจะต้องแฝงแบบฝึกหัดต่างๆเพื่อให้ผู้เรียนได้ทดลองทำ
2) Learning by doing จะต้องเน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองซึ่งการเรียนรู้ด้วยตัวเองจะทำให้ผู้เรียนเข้าใจได้ลึกซึ้งกว่า
3) Learning from Mistakes ให้ผู้เรียนเรียนรู้จากความผิดพลาดการเรียนรู้จากความผิดพลาดไม่ใช่เรื่องเสียหาย
แต่ยังจะช่วยให้ผู้เรียนจำได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
4) Goal-Oriented Learning ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนในเกม
เพื่อให้ผู้เรียนพยายามที่จะทำให้บรรลุเป้าหมาย
5) Learning Point ต้องแฝงไปด้วยข้อมูลหรือประเด็นหลักๆที่สำคัญต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่ผู้เรียนสมควรเรียนรู้
เพื่อผู้เรียนจะได้นำเอาความรู้นั้นไปใช้งานได้จริง
จากการอ้างอิงงานวิจัยเกี่ยวกับหลักการของGame based
learning ทั้งในไทยและต่างประเทศ ผู้เขียนจึงสรุปหลักการของ Game based learning
ได้ดังนี้
1.ผู้สอนต้องคำนึงถึงความสอดคล้องกันของเนื้อหา วัยของผู้เรียน
และความต้องการของผู้เรียน
2.ผู้สอนควรใช้เกมที่เด็กมีความคุ้นเคย มีความร่วมสมัย
และมีแนวปฏิบัติที่ง่าย
3.เกมต้องแฝงไปด้วยความรู้ตามที่ผู้สอนกำหนดไว้
4.เกมควรมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการทำงานร่วมกัน
และมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน
5.เกมต้องสามารถพัฒนาทักษะทางด้านใดด้านหนึ่ง หรือมากกว่านั้นได้
ดังนั้น
หากผู้สอนจัดรูปแบบการเรียนการสอน Game based learning ให้เป็นไปตามหลักการข้างต้น
จะส่งผลให้การสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้กระบวนการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบ
Game based learning มีรายละเอียดดังแสดงในหัวข้อถัดไป
แหล่งอ้างอิง :
Faulkner, D. (1995). Play, self and social world. In: P. Barnes (Ed.) Personal, social and emotional development of children (pp 249-70). Oxford: The Open University.
แหล่งอ้างอิง :
Faulkner, D. (1995). Play, self and social world. In: P. Barnes (Ed.) Personal, social and emotional development of children (pp 249-70). Oxford: The Open University.
Jack Dalton./“Game Based Learning and Teaching whilst having fun.”/Attended Victoria University,2016
สกุล สุขศิริ./“ผลสัมฤทธิ์ของสื่อการเรียนรู้แบบ Game Based Learning.”/สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์,2550
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น