การใช้เกมเป็นกิจกรรมประกอบการเรียนการสอน
เป็นการฝึกความสามารถในการรับรู้และเสริมสร้างความคิดหลายๆด้าน เช่น การรับรู้ Concept
ใหม่ๆ ความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนฝึกความจำ
ทำให้เด็กได้มีโอกาสสร้างประสบการณ์ใหม่ๆให้ตนเอง (อภิญญา,๒๕๔๗)
ทั้งนี้ยังสามารถแบ่งข้อดีและข้อจำกัดของการใช้รูปแบบ
Game based learning ตามแนวคิดของ
Fatmah (2015) ได้ว่า Game based
learning ช่วยกระตุ้นและดึงดูดความสนใจของผู้เรียน
เสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้จากการที่ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงถือเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง
จึงทำให้เกิดทักษะที่หลากหลายและเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
อีกทั้งรูปแบบการเรียนการสอนนี้ยังส่งผลย้อนกลับ(feedback)ต่อผู้เรียนทันทีเพื่อให้ผู้เรียนทราบความก้าวหน้าของตนเองและนำผลที่ได้รับมาปรับปรุงเพื่อพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น
แต่ในทางกลับกัน
Game
based learning
ยังคงมีข้อจำกัดในเรื่องของการสร้างเกมที่ต้องใช้ระยะเวลานาน
และงบประมาณที่ใช้ค่อนข้างสูง
อีกทั้งเกมที่สร้างยังกำหนดขอบเขตของเนื้อหาและผู้ใช้ทำให้ไม่สามารถนำไปใช้ได้ในทุกระดับชั้น
แหล่งอ้างอิง :
แหล่งอ้างอิง :
อภิญญา
โล่ประดิษฐ์. (2547) การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกมเรื่อง
การคูณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดทางหลวงโพธิ์ทอง
จังหวัดนนทบุรี . มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์/กรุงเทพฯ. วารินทร์ รัศมีพรหม. (2531). สื่อการสอนทางเทคโนโลยีการศึกษาและการสอนร่วมสมัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น